นิทานอะไรเอ๋ย

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนภาษา
ทฤษฎีพัฒนาการความเชื่อของภาษา
1.) ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Autistic Theory) ผู้คิดตั้งทฤษฎีนี้คือ โอ โฮบาร์ท โมว์เรอร์ (O.Hobart Mowrer ) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ชาวอเมริกันเขาให้ชื่อทฤษฎีของเขาว่า Autistic Theory หรือ Autism Theory of Speech Acquisition เขาทดลองการสอนพูดกับนก และพบว่านกจะเลียนเสียงพูดของคนเฉพาะ เสียงหรือคำที่ผู้ฝึกพูดด้วยเวลาที่มันอิ่มหรือลูบไล้ด้วยความรักนอกจากนี้ คำเหล่านี้ยังทำให้นกเพลิดเพลิน และเป็นสุข การที่นกแก้ว นกขุนทอง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้หลาย ๆ เสียงนี่เอง จึงมีบางเสียงที่คล้ายคลึงกับเสียงที่ใช้ในภาษาพูดของมนุษย์ ที่แสดงออกถึงความชื่นชมยินดี ดังนั้นเมื่อนกได้ยินเสียงที่ตัวมันเองเปล่งออกมาคล้ายคลึงกับเสียงที่นำความปิติมาให้ขณะกินอาหาร หรือถูกลูบไล้ด้วยความรัก มันจึงเลียนเสียงตามไปด้วย การให้รางวัลอย่างเหมาะสมจะทำให้การเลียนเสียงของนกดีขึ้น จนสามารถพูดเป็นคำเป็นประโยคได้ เช่น “แก้วจ๋า กินข้าว” เสียงที่เปล่งออกมาจะเป็นลักษณะของการให้รางวัลแก่ตนเองคำว่า Autism คือการให้รางวัลแก่ตนเองในแง่ของกระบวนการ ที่ทำเขานำหลักการจากทฤษฎีมาใช้กับการเรียนรู้ของเด็ก ในการหัดพูดคำแรก และเชื่อว่าใช้ได้ เช่น แม่พูดคำว่า “แม่” หรือ “ลูก” เป็นพัน ๆ ครั้งขณะป้อนข้าว อาบน้ำ เล่น เห่กล่อมให้ จึงพบว่าบางครั้งเด็กก็เปล่งเสียง “แม่” ขณะเล่นเสียง และยิ่งคำพูดนี้ทำให้เด็กมีความรู้สึกปิติ ปลาบปลื้ม ก็จะยิ่งพูดซ้ำมากกว่าพยางค์หรือคำอื่นที่ไม่มีความหมายให้จดจำเป็นพิเศษ ด้วยวิธีนี้ทำให้เด็กพัฒนาการถ้อยคำที่ใช้ในภาษามากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรางวัลที่เด็กจะได้รับจากแม่ ส่วนในแง่ของปัญหาด้านความเข้าใจ ซึ่งมักมีผู้สงสัยนั้น ก็อธิบายได้ว่า ความหมายของเด็กอาจเกิดจากการโยงความสัมพันธ์ เช่น เมื่อพูด “แม่” แม่ก็ปรากฏตัว หรือเข้าใจความหมายคำว่า “ลูก” โดยชี้ให้ดูในกระจกทฤษฎีนี้จึงถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็ก เกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องมาจาก ความพึงพอใจที่จะได้ทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mowrer) เชื่อว่าความสามารถในการฟัง และ ความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา
2.) ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า พัฒนาการทางการพูดนั้นเกิดขึ้นหลายทาง โดยอาศัยการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดได้จากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง ผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเลียนแบบใน การพัฒนาภาษาอย่างละเอียด คือ เลวิส (Lewis)การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วง ความสนใจของเด็กนั้นสั้นมาก เพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำๆ กัน จึงทำให้เด็กมักพูดซ้ำ ๆ ในระยะการเล่นเสียง บางครั้งก็ใช้การเคาะโต๊ะ เคาะจังหวะไปด้วย เมื่อศึกษาถึงกระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูด ก็พบว่า จุดเริ่มต้นเกิดเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเด็กในระยะเล่นเสียง เช่น เด็กบังเอิญพูดย้ำพยางค์ คำว่า “แม่” เมื่อเสียงที่เด็กเปล่งออกมานั้นก่อให้เกิดความสนใจ เด็กก็จะกล่าวซ้ำอีกและเป็นจังหวะเดียวกันกับที่แม่ปรากฏตัวเข้ามา เด็กจึงหยุดพูด แต่แม่อาจไม่สังเกตและอาจพูดกับลูกว่า “แม่หรือคะ” “หาแม่หรือคะ” นี่เองเท่ากับได้ไปเร้าความสนใจของเด็กขึ้นมาใหม่ เด็กก็ปรารถนาจะทำต่อไป อาจเปล่งเสียงคนเดียวซ้ำๆ กันก็ได้ ในขณะที่แม่อาจกระวีกระวาดไปเล่าให้พ่อฟังว่า ลูกเรียกแม่ได้แล้ว เมื่อใดที่เด็กสามารถใช้คำเพื่อการติดต่อได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ “แม่ มานี่” “แม่ อุ้มหน่อย” จึงจะถือว่าเด็กสามารถพูดคำแรกได้แล้ว ก้าวแรกในการสอนให้เด็กพูด ควรเป็นการเลียนแบบเสียงที่เด็กพูดในระยะการเล่นเสียง และอาจเร้าความสนใจด้วยการตบโต๊ะ เคาะจังหวะ เด็กจะได้หันมามอง การขัดจังหวะก็ควรทำก่อนเด็กจะหยุดกิจกรรม เช่น ขณะเด็กกำลังพูด ป้อป้อ ป้อซ้ำๆ พ่อแม่ก็เข้ามาขัดจังหวะทันทีที่เด็กพูด ป้อคำแรก ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะที่เด็กพึงพอใจมากที่สุด และจะทำให้เด็กสนใจพูดต่อได้นานและดังกว่าเดิม ในระยะแรกก็ทำเพียง 2-3 เสียง แล้วทำให้เรียนรู้ความหมายไปด้วย เช่น เมื่อเด็กพูดคำว่า “แม่” หรือ “พ่อ” แม่หรือพ่อก็ควรเข้ามาปรากฏตัวและเมื่ออุ้มลูกขึ้นก็ควรพูดไปด้วย หัดให้ใช้คำนั้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ผลสุดท้ายเด็กจะโยงความเข้าใจจากเสียงไปยังบุคคลและเข้าใจในความหมายได้เด็กควรได้รับการฝึก จนกระทั่งมีคำตอบที่คงที่มีความหมายอยากพูดซ้ำๆ เมื่อพ่อแม่มาพูดหยอกเล่นด้วย ขณะที่เล่นเสียง พ่อแม่ควรใช้ระยะเงียบมาช่วยฝึกด้วย เช่น ช่วงว่างระหว่าง การทำเสียงอ้อแอ้ เด็กจะหยุดเงียบแม่อาจเร้าความสนใจเด็กใหม่โดยเร้าให้พูด “แม่ๆ” ถ้าเด็กตอบสนองด้วยการเลียนแบบก็ควรให้ฝึกต่อไป ขั้นถัดไปคือ การหัดพูดเป็นคำ ในการฝึกทั้งสองขั้นนี้ พ่อแม่จำต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมแล้วจะพบว่าเด็กใช้คำได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ หรือท่าทาง อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การหัดพูดครั้งแรกของเด็กได้มาโดยวิธีการของความสม่ำเสมอ ปกติเด็กคุ้นกับเสียง และท่าทางก่อนแล้ว เช่น “สวัสดี” “ไม่” หรือ “แม่” เด็กรู้จักคำมาก่อนนานแล้วเพียงแต่คอยความสม่ำเสมอ หรือ ความคงที่ของความหมายจากผู้ใหญ่ ท่าทางเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้เด็กพูดคำแรกได้สิ่งควรระลึกคือ การที่เด็กจะหัดพูดได้หรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่เด็กต้องทำตามคำสั่ง หรือคำขอร้องซึ่งพ่อแม่มักชอบใช้โดยไม่รู้ตัว เช่น “พูด…………..สิ” “พูด…………..ให้ถูกสิ” โดยเฉพาะคำที่พูดไม่ชัด นักแก้ไขการพูดรู้ดีว่าภาวะที่เหมาะในการหัดนั้นจะช่วยให้เด็กพูดได้ชัดได้ เช่นเดียวกับพ่อแม่สามารถสอนให้ลูกพูดคำแรกได้
3.) ทฤษฎีเสริมกำลัง (Reinforcement Theory)ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลังทฤษฎีของการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าพ ฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลด์ (Rheingold) พบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อให้รางวัลหรือเสริมกำลังเวสเบอร์ก ทอดด์ (Weissberg Todd ) ก็แสดงให้เห็นว่าการให้รางวัลทางสังคมทำให้เด็กอายุ 3 เดือน เปล่งเสียงมากขึ้น แต่พบว่าเฉพาะเสียงที่บ่งบอกความปิติยินดีไม่อาจทำให้เพิ่มการตอบสนองได้ เพราะเขาทดลองใช้เทปบันทึกเสียงแทนคน ปรากฏว่าไม่มีการตอบสนอง ตรงกันข้ามกับนกแก้วนกขุนทองที่สามารถวางเงื่อนไขด้วยจานเสียงหรือเทปก็ได้ เด็กนั้นต้องการตอบสนองจากผู้ใหญ่จริง ๆ วินิทซ์ (Winitz) ได้อธิบายถึงการที่เด็กเกิดการรับรู้ในระยะการเล่นเสียงตอนต้นๆ ว่าเป็นการกระทำตามธรรมชาติของมนุษย์ ในการที่จะมีจุดหมายปลายทาง ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กหิวก็เคลื่อนไหวปาก ซึ่งมีจุดหมายปลายทางที่การดูดและการกินอาหาร ต่อมาเมื่อโตขึ้นก็อาจใช้วิธีทำเสียงอ้อแอ้ โดยหวังว่าแม่จะเข้ามาหาและเล่นเสียงคุยตามไปด้วย ผู้ที่สังเกตเด็กอย่างใกล้ชิดจะพอมองได้ว่า เมื่อใดเด็กร้องเพราะหิว แต่ก็ยากที่จะแยกแยะให้ตายตัวลงไปว่า เด็กหวังจะได้อาหารหรือหวังจะได้อะไรจากผู้ใหญ่ วินิทซ์ ได้อธิบายขั้นที่สองของพัฒนาการทางภาษาในด้านการให้รางวัลทางอ้อมว่า มีบทบาทต่อพฤติกรรมของเด็ก กล่าวคือ เมื่อแม่ทำเสียงนำให้ลูกพร้อมกับการเอาอาหารมาให้ โดยเกือบจะพร้อมกันนั่นเอง เด็กจะหันศีรษะไปรับอาหาร และในขณะที่แม่เปล่งเสียงนั้นเด็กอาจทำกิริยาอย่างอื่นด้วย เช่น หันมามอง ยิ้ม จนบางครั้งแม้เมื่อไม่มีอาหารหากได้ยินเสียงแม่ ลูกก็จะมีพฤติกรรมเหมือนเดิม คือ หันศีรษะมาและยิ้มด้วยการที่เสียงพูดของเด็กคล้ายคลึงกับเสียงแม่มากนั้น เขาอธิบายว่าเป็นเพราะการได้รับการเสริมกำลังจากเสียงของแม่ แล้วเปลี่ยนมาเป็นเสียงของเด็กเอง การเปล่งเสียงของแม่นั้นมักเกิดขึ้นก่อนและต่อเนื่องกับการเลี้ยงดูทารก ฉะนั้นเด็กจึงเลียนวิธีการออกเสียงด้วยวิธีนี้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเสียงแม่ปรากฏควบคู่กับการให้อาหาร ซึ่งจัดเป็นการเสริมกำลังโดยตรงอยู่แล้ว ก็เท่ากับช่วยให้เด็กพูดมากขึ้น ดังนั้นเด็กที่มีเสียงพูดเหมือนพ่อแม่มากก็คือ เด็กที่ได้รับการเสริมกำลังมากกว่าเด็กคนอื่นนั่นเอง ยิ่งพ่อแม่ตอบสนองอย่างเต็มอกเต็มใจ และร่าเริง เมื่อเด็กพูด “แม่-แม่” มากกว่าเมื่อพูดคำที่ไร้ความหมาย แล้วพยางค์นั้นก็จะยิ่งปรากฏบ่อยในการพูดของเด็ก เมื่ออายุราวๆ 1 ปี การเปล่งเสียงพยางค์ก็คล้ายคลึงกับพยางค์ที่มีความหมาย เช่น มม มม และสังเกตเห็นว่าแม่กระวีกระวาดเอาน้ำหรือนมที่เด็กต้องการมาให้ ก็จะทำให้พยางค์นั้นปรากฏบ่อยยิ่งขึ้น วิธีการแบบนี้เองที่เป็นการหัดพูด ซึ่งจะทำให้เด็กพัฒนาการทางภาษาได้คล้ายคลึงกับการพูดของผู้ใหญ่
4. ) ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ในบางครั้ง เด็กจะพูดคำที่ไม่เคยพูดหรือไม่เคยถูกสอนให้พูดมาก่อนเลย แม้แต่ในระยะเล่นเสียงก็มิได้เปล่งเสียงที่คล้ายคลึงกับคำนั้น จึงสงสัยว่าเด็กเรียนรู้ได้อย่างไร ทฤษฎีนี้ให้คำตอบในแง่นี้ คือลีเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วยทำนองเดียวกับเด็กหูตึง การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง พูดซ้ำด้วยตนเองหรือหัดเปล่งเสียงโดยอาศัยการอ่านริมฝีปากแล้วจึงเรียนรู้คำ

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การสอนภาษแบบองค์รวม

เป็นปรัชญาแนวคิดความเชื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เป้นการสอนที่เน้นพีฒนาการทุกๆด้าน ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน สิ่งสำคัญในการ

การจัดประสบการสำหรับเด็กปฐมวัย

ควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กคำนึงถึงตัวเด็กเป็นหลักจัดประสบการณ์ให้เด็กเพือ่ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านเช่นทักษะทางภาษา

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2552

สรุป การรายงานของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่1 ความหมายของภาษา
เป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น การใช้คำพูดในการสื่อสารและการกระทำที่แสดงออกมาเพื่อจะสื่อถึงความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลว่าต้องการทำอะไรหรือต้องการอะไร
กลุ่มที่ 2 ทฤษฎีทางสติปัญญา
เพียเจต์ ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กโดยผ่านระบบประสาท การขยายโครงสร้าง การปรับเข้าสุ้โครงสร้าง
กลุ่มที่ 3 แนวคิดนักการ
หลัการสอนภาษาแบบองค์รวม
หลักการอ่านและการเขียนภาษาแบบองค์รวม
- ผุ้อ่านจะต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจ
- ผู้อ่านจะต้องใช้กลวิธีในการอ่าน
- การเขียนแบบองค์รวมจะเน้นให้เห้นความสัมพันธ์ของการอ่านและการเขียน


หลักการจัดการเรียนการสอนภาษา
- ส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน
- ส่งเสริมการรัการอ่านโดยการจัดเตรียมสิ่งพิมพ์ต่างๆ
- ผู้เรียนจะมีจุดประสงค์ย่อยของตนเอง
- ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนรู้จักใช้กระบวนกานอ่านอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการชำนาญ


วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการสอน

การสอนภาษาสำหรับเด็กไม่ใช่เพียงการสอนเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียนเท่านั้นแต่ต้องรวมถึงทักษะการฟังการพูด

แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
1.) ครูจะต้องรู้ว่าเด็กเรียนรู้อย่างไรเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ
2.) ประสบการณ์ทางภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
3.)
เชื่อว่าเด็กทุกคนสามรถเรียนรู้ได้
4.) เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบ สอนอย่างธรรมชาติ

5.) เด็กจะเรียนรู้ได้ที่สุดถ้ามาจากการตัดสินใจของเด็กเอง
6.) ให้เด็กรูสึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งของในสังคมในห้องเรียนนั้นๆ
7.)
ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน
8.) ครูต้องสอนทุกไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้องกัน
9.) ทำให้การเรียนของเด็กเป็นสิ่งที่น่าใจและสนุกสนาน

ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
1.)
เริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก
2.) ให้ความเคารพและยอมรับภาษาที่เด็กใช้
3.) การประเมินโดยการสังเกต
4.) ใช้วิธีการการประเมินที่เหมาะ เสนอความคิดต่อผู้ปกครอง
5.)
ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น
6.)
สร้างความรู้สึกประสบความสำเร็จให้เด็กอ่านสิ่งที่เด็กคุ้นเคย อ่านให้เด็กฟังจากแหล่งต่างๆ

ข้อควรปกิบัติในการใช่ภาษา
- ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด
- ควรสอนโดยม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด้กเก่งเด็กอ่อน
- ครูอาจใช้ความคิดเกี่ยวกับภาษาของเด็กมาสอน

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)

นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์(อ้างถึงใน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2540 : 17)

กล่าวไว้ว่าพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อคนเรามีปฏิสัมพันธ์(Interaction)กับสิ่งแวดล้อมเพราะการปฏิสัมพันธ์เป็นกระบวนการปรับตัว (Adaptation) ของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก โครงสร้างทางสมองจะถูกจัดระบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม หากโครงสร้างทางสมองสามารถปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ได้ หรือเกิดความสงสัยต้องการจะรู้ จะเกิดสภาวะไม่สมดุล หรือเรียกว่าการ เกิดการเรียนรู้
การปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลมี 2 วิธีได้แก่
1.การดูดซึมประสบการณ์ใหม่เข้าไป
2.การปรับขยายกรอบโครงสร้างความรู้ความคิดเดิมออกไปให้รับความรู้ใหม่ได้
การนำทฤษฎีของเพียเจต์มาใช้กับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2540 : 18) เสนอแนะว่าสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาซึ่งมีความสามารถคิดในเชิงนามธรรมได้ การสอนบางอย่างอาจใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร จากหนังสือหรือจากการบรรยายของครูแต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าครูจะสอนโดยการบรรยายอย่างเดียว


พัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development)
พัฒนาการทางสติปัญญาไม่ว่าในวัยใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการคือ
1. พื้นฐานทางสติปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ


2. โอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้

3. สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็ก

นอกเหนือจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสติปัญญายังได้แก่

- โอกาสที่เด็กจะได้เล่น เพราะการเล่นช่วงส่งเสริมความเข้าใจสิ่งแวดล้อม ดังคำกล่าวที่ว่า การเล่นคือการเรียน (Playing is Learning) 2 (ศรีเรือน แก้วกังวาล. 2527 : 71 )

- ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาและใช้ภาษาที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจ

- พัฒนาการของกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส (Sensory motor) เพราะระยะนี้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยอาศัยกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสเป็นสื่อเป็นส่วนใหญ่การที่เด็กได้มีโอกาสแตะต้องเห็นได้ยิน วัตถุที่ให้การเรียนรู้จะช่วยพัฒนาสติปัญญาอย่างมาก
การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านนี้จำต้องอาศัยการเรียนรู้ จึงควรจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง ผู้เลี้ยงดูควรจัดหาของเล่นให้เด็กให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก ของเล่นนอกจากจะให้ความเพลิดเพลินแล้ว เด็กยังสามารถเรียนรู้หลายๆ อย่างจากของเล่นนั้นๆ เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับรูปฟอร์มต่างๆ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น ซึ่งความรู้เหล่านี้ก็คือความรู้ขั้นพื้นฐานของวิชาคณิตศาสตร์นั่นเอง นอกจากความรู้เกี่ยวกับรูปฟอร์มต่างๆ แล้ว เด็กยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับขนาด เช่น ใหญ่-เล็ก จำนวนและสีของสิ่งเหล่านั้นว่ามีจำนวนมากน้อยเท่าใดและมีสีสันอะไรบ้าง ฉะนั้นในการหาซื้อของเล่นให้เด็ก บิดามารดาจึงควรหาซื้อของเล่นชนิดของเล่นเพื่อการศึกษา (Educational Toys) เพื่อสนองความต้องการอยากรู้อยากเห็นและยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา


พัฒนาการทางความคิดและสติปัญญา

เข้าใจว่าวัตถุแม้เปลี่ยนแปลงรูปลักษณะภายนอกก็ยังคงสภาพเดิม (Conservation)นบ้างลักษณะเช่น ปริมาณ น้ำหนัก และปริมาตร เด็กในวัยเด็กตอนต้น (ประมาณ 5-6 ขวบ)อาจพอเข้าใจได้ 2 ลักษณะคือ ปริมาณและน้ำหนัก ส่วนความเข้าใจการทรงสภาพเดิมของปริมาตรค่อนข้างยากและเป็นลักษณะนามธรรมมากเกินไป โดยเฉลี่ยเด็กต้องอายุถึง 7 ขวบ จึงจะสามารถเข้าใจเรื่องนี้ วิธีทดสอบว่าเด็กเข้าใจเรื่องนี้หรือยังนั้น เขาใช้ดินน้ำมันก้อนกลมเท่ากัน 2 ก้อน กับถ้วยแก้วเท่ากัน 2 ใบ ใส่น้ำปริมาณเท่ากัน เอาดินน้ำมันใส่ในแก้วน้ำ ถามเด็กว่าปริมาณน้ำในถ้วยทั้งสองมีระดับเท่ากันหรือไม่ เมื่อเด็กตอบว่าเท่ากันแล้ว เอาดินน้ำมันออกจากถ้วยแก้วใบหนึ่ง เด็กช่างสังเกตย่อมมองเห็นว่าระดับน้ำเปลี่ยนแปลงไป นำดินน้ำมันที่เอาออกจากถ้วยแก้วมาปั้นเป็นแท่งยาว แล้วใส่กลับลงไปในถ้วยแก้วเดิม ถ้าเด็กว่าระดับน้ำในถ้วยแก้วที่ใส่ดินน้ำมันรูปแท่งยาว จะเท่ากับระดับน้ำในถ้วยแก้วใส่ดินน้ำมันก้อนกลมหรือไม่ ถ้าเด็กคนใดสามารถตอบได้ว่าเท่ากัน แสดงว่าเด็กคนนั้นได้พัฒนาความคิด ความเข้าใจเรื่องการทรงสภาพเดิมของปริมาตรแล้ว (ในที่นี้คือปริมาตรของดินน้ำมัน)
แหล่งที่มา www.osun.org.com

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การจัดประสบการณ์ครั้งที่ 1


วันศุกร์ที่ 6 พฤษจิกายน พ.ศ. 2552
นางสาวธัญญาพร อิ่มมะเริง
รหัสนักศึกษา 5111205042
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางภาษาเพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย เป็นการจัดกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาภาษา จากการสอนโดยวิธีธรรมชาติรวมทั้งทฤษฎีหลักการในการเรียนรู้ทางภาษา
บรรยากาศในห้องเรียน
1. บรรยากาศในห้องเรียนก็เย็นดี
2. ห้องดูมืดไปหน่อยคะ
3. อาจารย์ไม่เคร่งเครียดเกินไป
4. ภาพรวมก็ดีคะ
สรุปใจความสำคัญของวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
หลังจากที่ได้ฟังอาจารย์กล่าวถึงรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยก็พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสทั้งของเด็กและการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
สรุป
จากคำถามแรกจะเป็นการการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัยพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยเริ่มจากการพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ปาก สัมผัส ส่วนคำถามต่อมา ก็เน้นไปในเรื่องบรรยากาศในห้องเรียน
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ผู้ติดตาม

Bigbang Pictures, Images and Photos
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...