นิทานอะไรเอ๋ย

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)

นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์(อ้างถึงใน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2540 : 17)

กล่าวไว้ว่าพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อคนเรามีปฏิสัมพันธ์(Interaction)กับสิ่งแวดล้อมเพราะการปฏิสัมพันธ์เป็นกระบวนการปรับตัว (Adaptation) ของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก โครงสร้างทางสมองจะถูกจัดระบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม หากโครงสร้างทางสมองสามารถปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ได้ หรือเกิดความสงสัยต้องการจะรู้ จะเกิดสภาวะไม่สมดุล หรือเรียกว่าการ เกิดการเรียนรู้
การปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลมี 2 วิธีได้แก่
1.การดูดซึมประสบการณ์ใหม่เข้าไป
2.การปรับขยายกรอบโครงสร้างความรู้ความคิดเดิมออกไปให้รับความรู้ใหม่ได้
การนำทฤษฎีของเพียเจต์มาใช้กับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2540 : 18) เสนอแนะว่าสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาซึ่งมีความสามารถคิดในเชิงนามธรรมได้ การสอนบางอย่างอาจใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร จากหนังสือหรือจากการบรรยายของครูแต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าครูจะสอนโดยการบรรยายอย่างเดียว


พัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development)
พัฒนาการทางสติปัญญาไม่ว่าในวัยใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการคือ
1. พื้นฐานทางสติปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ


2. โอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้

3. สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็ก

นอกเหนือจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสติปัญญายังได้แก่

- โอกาสที่เด็กจะได้เล่น เพราะการเล่นช่วงส่งเสริมความเข้าใจสิ่งแวดล้อม ดังคำกล่าวที่ว่า การเล่นคือการเรียน (Playing is Learning) 2 (ศรีเรือน แก้วกังวาล. 2527 : 71 )

- ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาและใช้ภาษาที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจ

- พัฒนาการของกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส (Sensory motor) เพราะระยะนี้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยอาศัยกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสเป็นสื่อเป็นส่วนใหญ่การที่เด็กได้มีโอกาสแตะต้องเห็นได้ยิน วัตถุที่ให้การเรียนรู้จะช่วยพัฒนาสติปัญญาอย่างมาก
การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านนี้จำต้องอาศัยการเรียนรู้ จึงควรจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง ผู้เลี้ยงดูควรจัดหาของเล่นให้เด็กให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก ของเล่นนอกจากจะให้ความเพลิดเพลินแล้ว เด็กยังสามารถเรียนรู้หลายๆ อย่างจากของเล่นนั้นๆ เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับรูปฟอร์มต่างๆ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น ซึ่งความรู้เหล่านี้ก็คือความรู้ขั้นพื้นฐานของวิชาคณิตศาสตร์นั่นเอง นอกจากความรู้เกี่ยวกับรูปฟอร์มต่างๆ แล้ว เด็กยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับขนาด เช่น ใหญ่-เล็ก จำนวนและสีของสิ่งเหล่านั้นว่ามีจำนวนมากน้อยเท่าใดและมีสีสันอะไรบ้าง ฉะนั้นในการหาซื้อของเล่นให้เด็ก บิดามารดาจึงควรหาซื้อของเล่นชนิดของเล่นเพื่อการศึกษา (Educational Toys) เพื่อสนองความต้องการอยากรู้อยากเห็นและยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา


พัฒนาการทางความคิดและสติปัญญา

เข้าใจว่าวัตถุแม้เปลี่ยนแปลงรูปลักษณะภายนอกก็ยังคงสภาพเดิม (Conservation)นบ้างลักษณะเช่น ปริมาณ น้ำหนัก และปริมาตร เด็กในวัยเด็กตอนต้น (ประมาณ 5-6 ขวบ)อาจพอเข้าใจได้ 2 ลักษณะคือ ปริมาณและน้ำหนัก ส่วนความเข้าใจการทรงสภาพเดิมของปริมาตรค่อนข้างยากและเป็นลักษณะนามธรรมมากเกินไป โดยเฉลี่ยเด็กต้องอายุถึง 7 ขวบ จึงจะสามารถเข้าใจเรื่องนี้ วิธีทดสอบว่าเด็กเข้าใจเรื่องนี้หรือยังนั้น เขาใช้ดินน้ำมันก้อนกลมเท่ากัน 2 ก้อน กับถ้วยแก้วเท่ากัน 2 ใบ ใส่น้ำปริมาณเท่ากัน เอาดินน้ำมันใส่ในแก้วน้ำ ถามเด็กว่าปริมาณน้ำในถ้วยทั้งสองมีระดับเท่ากันหรือไม่ เมื่อเด็กตอบว่าเท่ากันแล้ว เอาดินน้ำมันออกจากถ้วยแก้วใบหนึ่ง เด็กช่างสังเกตย่อมมองเห็นว่าระดับน้ำเปลี่ยนแปลงไป นำดินน้ำมันที่เอาออกจากถ้วยแก้วมาปั้นเป็นแท่งยาว แล้วใส่กลับลงไปในถ้วยแก้วเดิม ถ้าเด็กว่าระดับน้ำในถ้วยแก้วที่ใส่ดินน้ำมันรูปแท่งยาว จะเท่ากับระดับน้ำในถ้วยแก้วใส่ดินน้ำมันก้อนกลมหรือไม่ ถ้าเด็กคนใดสามารถตอบได้ว่าเท่ากัน แสดงว่าเด็กคนนั้นได้พัฒนาความคิด ความเข้าใจเรื่องการทรงสภาพเดิมของปริมาตรแล้ว (ในที่นี้คือปริมาตรของดินน้ำมัน)
แหล่งที่มา www.osun.org.com

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การจัดประสบการณ์ครั้งที่ 1


วันศุกร์ที่ 6 พฤษจิกายน พ.ศ. 2552
นางสาวธัญญาพร อิ่มมะเริง
รหัสนักศึกษา 5111205042
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางภาษาเพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย เป็นการจัดกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาภาษา จากการสอนโดยวิธีธรรมชาติรวมทั้งทฤษฎีหลักการในการเรียนรู้ทางภาษา
บรรยากาศในห้องเรียน
1. บรรยากาศในห้องเรียนก็เย็นดี
2. ห้องดูมืดไปหน่อยคะ
3. อาจารย์ไม่เคร่งเครียดเกินไป
4. ภาพรวมก็ดีคะ
สรุปใจความสำคัญของวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
หลังจากที่ได้ฟังอาจารย์กล่าวถึงรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยก็พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสทั้งของเด็กและการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
สรุป
จากคำถามแรกจะเป็นการการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัยพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยเริ่มจากการพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ปาก สัมผัส ส่วนคำถามต่อมา ก็เน้นไปในเรื่องบรรยากาศในห้องเรียน
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ผู้ติดตาม

Bigbang Pictures, Images and Photos
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...