นิทานอะไรเอ๋ย

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

การทำข้อสอบปลายภาค
1.) ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยท่านต้องศึกษาในเรื่องใดบ้าง
1.ความหมายของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
2.ศึกษาทฤษฎี เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยของนักทฤษฎีแต่ละท่าน3.ศึกษาแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็ก
3.ศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก
2.) การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร1.เพื่อพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย
1.เพื่อพัฒนาทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย เช่น การพูด การฟัง การอ่าน การเขียน ได้
2.เพื่อให้มีพัฒนาทางด้านสังคม เช่น การสื่อสาร พูดคุยกับผู้อื่นได้
3.) หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง

1. การจัดการเรียนรู้ควรตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของเด็ก
2. การเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เด็กกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตน
3. การจัดการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญต่อบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
4. การฟังคือที่มาสำคัญของการพัฒนาภาษาคำ ความหมาย และภาษาที่งดงามสร้างขึ้นได้จากนิทาน
5. เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
4.) ท่านมีแนวทางในการให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อย่างไร
1.ให้ผู้ปกครองเป็นต้นแบบในการใช้ภาษา เช่นการเล่านิทานห้เด็กฟัง
2.ให้ผู้ปกของใช้ภาษาที่ถูกต้องกับเด็ก
3.ให้ผู้ปกครองสนับสนุนเรื่องการรักการอ่านให้กับเด็ก
5.)ให้ท่านเลือกกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบที่สุดพร้อมให้เหตุผล ชื่อ วัตถุประสงค์ กิจกรรม ประเมินผล
การร้องเพลง เพราะการร้องเพลงเป็นการส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาและพัฒนาทางด้านต่างๆของเด็ก
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาให้กับเด็กปฐมวัย
- เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางด้านภาษา
ประเมินผล
-จากการตอบคำถาม เพลงสอนอะไรบ้าง
-ความสนุกสนานเพลิดเพลิน

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้ผู้ปกครอง
อนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยคุณธรรม' ปลูกความดีให้เด็กไทย
นักวิชาการในประเทศไทยหลายคนออกมาชี้ว่า เด็กไทยกำลังขาดคุณธรรม จริยธรรม จึงควรส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้การทำความดีตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ในขณะเดียวกัน สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำวิจัยคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในประเทศไทย พบว่าสถาบันการศึกษาถูกคาดหวังจากบุคคลต่าง ๆ ว่าจะเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมเคียงคู่กับครอบครัวและสถาบันศาสนา หรือ บวร คือ บ้าน วัด โรงเรียน .....
ขณะที่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กไทยเกิดจาก
1. สื่อ เช่น โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต แผ่นซีดี รวมถึงโทรศัพท์มือถือที่เผยแพร่ค่านิยมไม่พึงประสงค์ อาทิ การแต่งกาย ใช้ของราคาแพง ตั้งกลุ่มแก๊ง ใช้ความรุนแรง มั่วสุมทางเพศ
2.ครอบครัว มุ่งทำงานหาเงินจนไม่มีเวลาอบรมลูก พ่อ แม่บางคนเป็นแบบอย่างไม่ดีให้แก่ลูก เช่น เป็นนักเลงสุรา เล่นการพนัน
3.ชุมชน เกิดกิจการร้านค้าอบายมุขใกล้บ้านและโรงเรียนมากมาย เช่น ร้านขายสุรา บ่อนการพนัน โรงแรมม่านรูด คาราโอเกะ ร้านเกม เป็นต้น ซึ่งวัยรุ่นสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีผู้ใหญ่ควบคุม และ
4.โรงเรียน ครูยังขาดความเข้าใจธรรมชาติของนักเรียน ไม่รู้วิธีการส่งเสริมนิสัยที่ดีให้แก่นักเรียน มักใช้วิธีเดิม ๆ เช่น การอบรมแบบบ่นว่า จุกจิก ลงโทษมากกว่าให้รางวัล ทำให้เด็กไม่ร่วมมือ ไม่เชื่อถือในตัวครู

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกวันที่19กุมพาพันธ์ พ.ศ.2553

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553

- อาจารย์แจกแบบประเมินอาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษา

- อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Blog และอธิบายเรื่องการทำสไลด์

- นัดหมายการสอบปลายภาค วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม 2553 เวลา 13.00 น.

วันศุกร์ที่ 12 กุมพาพันธ์ 2553

Mind Mapper




วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันศุกร์ ที่ 5 เดือนกุมพาพันธ์ พ.ศ. 2553

อาจารย์ให้นักศึกษาเสนองานสังเกตเด็กอนุบาลสาธิตมหาวิทยาลัยจันทรเกษม
กลุ่มแรก
ได้เล่านี้ให้เด็กนิทานฟัง
นิทานชื่อเรื่องว่า วันโชคดีของยิ้มแย้ม
กลุ่มที่สอง
จากการฟังนิทาน
นิทานที่นำไปเล่า มีดังนี้ เรื่องกุ๊กไก่ปวดท้อง
กลุ่มที่ห้า
เกมปฏิบัติตามคำสั่ง
ชั้นอนุบาล 1/1 น.ส.จันทร์จีรา
วิธีการสอน
ให้เด็กทำตามก่อน แล้วเด็กก็ทำตามเพราะอยากได้ลูกโป่ง
อนุบาล1/2 น.ส. อัญชลี
วิธีการสอน
เริ่มจากการถามน้องก่อนว่า หูหนูอยู่ไหน เด็กบ้างคนเห็นครูจับเสื้อ เด็กก้จับตาม พอถามพอเด็กเริ่มเข้าใจโดยมีครูเป็นแบบ
อนุบาล2 น.ส.นันทนากรณ์
วิธีการสอน
มีภาพให้เด็กดู แล้วถามคำถาม ว่า ขาอยู่ไหนคะ เด็กก็ยังเฉยๆแต่หลังจากนั้นเด็กก็เริ่มปฏิบัติตามได้
อนุบาล 3 น.ส.ชญานิศ
วิธีการสอน
ให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายขั้นพื้นฐาน
นำเพลงมาประกอบ เริ่มจาก ช้า-เร็วไปเรื่อยๆ
เด็กบ้างคนปฏิบัติดามคำสั่งได้ดีกว่าเด็กบางคน
กลุ่มที่เจ็ด
สังเกตชั้นอนุบาลสอง
เล่านิทานให้เด็กฟัง เรื่อง ขบวนการแปลงฟัน
สังเกตเด็กชั้นอนุบาลสาม น.ส. พัชฤทธิ์
เล่านิทานพร้อมภาพประกอบ

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนภาษา
ทฤษฎีพัฒนาการความเชื่อของภาษา
1.) ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Autistic Theory) ผู้คิดตั้งทฤษฎีนี้คือ โอ โฮบาร์ท โมว์เรอร์ (O.Hobart Mowrer ) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ชาวอเมริกันเขาให้ชื่อทฤษฎีของเขาว่า Autistic Theory หรือ Autism Theory of Speech Acquisition เขาทดลองการสอนพูดกับนก และพบว่านกจะเลียนเสียงพูดของคนเฉพาะ เสียงหรือคำที่ผู้ฝึกพูดด้วยเวลาที่มันอิ่มหรือลูบไล้ด้วยความรักนอกจากนี้ คำเหล่านี้ยังทำให้นกเพลิดเพลิน และเป็นสุข การที่นกแก้ว นกขุนทอง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้หลาย ๆ เสียงนี่เอง จึงมีบางเสียงที่คล้ายคลึงกับเสียงที่ใช้ในภาษาพูดของมนุษย์ ที่แสดงออกถึงความชื่นชมยินดี ดังนั้นเมื่อนกได้ยินเสียงที่ตัวมันเองเปล่งออกมาคล้ายคลึงกับเสียงที่นำความปิติมาให้ขณะกินอาหาร หรือถูกลูบไล้ด้วยความรัก มันจึงเลียนเสียงตามไปด้วย การให้รางวัลอย่างเหมาะสมจะทำให้การเลียนเสียงของนกดีขึ้น จนสามารถพูดเป็นคำเป็นประโยคได้ เช่น “แก้วจ๋า กินข้าว” เสียงที่เปล่งออกมาจะเป็นลักษณะของการให้รางวัลแก่ตนเองคำว่า Autism คือการให้รางวัลแก่ตนเองในแง่ของกระบวนการ ที่ทำเขานำหลักการจากทฤษฎีมาใช้กับการเรียนรู้ของเด็ก ในการหัดพูดคำแรก และเชื่อว่าใช้ได้ เช่น แม่พูดคำว่า “แม่” หรือ “ลูก” เป็นพัน ๆ ครั้งขณะป้อนข้าว อาบน้ำ เล่น เห่กล่อมให้ จึงพบว่าบางครั้งเด็กก็เปล่งเสียง “แม่” ขณะเล่นเสียง และยิ่งคำพูดนี้ทำให้เด็กมีความรู้สึกปิติ ปลาบปลื้ม ก็จะยิ่งพูดซ้ำมากกว่าพยางค์หรือคำอื่นที่ไม่มีความหมายให้จดจำเป็นพิเศษ ด้วยวิธีนี้ทำให้เด็กพัฒนาการถ้อยคำที่ใช้ในภาษามากขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรางวัลที่เด็กจะได้รับจากแม่ ส่วนในแง่ของปัญหาด้านความเข้าใจ ซึ่งมักมีผู้สงสัยนั้น ก็อธิบายได้ว่า ความหมายของเด็กอาจเกิดจากการโยงความสัมพันธ์ เช่น เมื่อพูด “แม่” แม่ก็ปรากฏตัว หรือเข้าใจความหมายคำว่า “ลูก” โดยชี้ให้ดูในกระจกทฤษฎีนี้จึงถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็ก เกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องมาจาก ความพึงพอใจที่จะได้ทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mowrer) เชื่อว่าความสามารถในการฟัง และ ความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา
2.) ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า พัฒนาการทางการพูดนั้นเกิดขึ้นหลายทาง โดยอาศัยการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดได้จากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง ผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเลียนแบบใน การพัฒนาภาษาอย่างละเอียด คือ เลวิส (Lewis)การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วง ความสนใจของเด็กนั้นสั้นมาก เพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำๆ กัน จึงทำให้เด็กมักพูดซ้ำ ๆ ในระยะการเล่นเสียง บางครั้งก็ใช้การเคาะโต๊ะ เคาะจังหวะไปด้วย เมื่อศึกษาถึงกระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูด ก็พบว่า จุดเริ่มต้นเกิดเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเด็กในระยะเล่นเสียง เช่น เด็กบังเอิญพูดย้ำพยางค์ คำว่า “แม่” เมื่อเสียงที่เด็กเปล่งออกมานั้นก่อให้เกิดความสนใจ เด็กก็จะกล่าวซ้ำอีกและเป็นจังหวะเดียวกันกับที่แม่ปรากฏตัวเข้ามา เด็กจึงหยุดพูด แต่แม่อาจไม่สังเกตและอาจพูดกับลูกว่า “แม่หรือคะ” “หาแม่หรือคะ” นี่เองเท่ากับได้ไปเร้าความสนใจของเด็กขึ้นมาใหม่ เด็กก็ปรารถนาจะทำต่อไป อาจเปล่งเสียงคนเดียวซ้ำๆ กันก็ได้ ในขณะที่แม่อาจกระวีกระวาดไปเล่าให้พ่อฟังว่า ลูกเรียกแม่ได้แล้ว เมื่อใดที่เด็กสามารถใช้คำเพื่อการติดต่อได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ “แม่ มานี่” “แม่ อุ้มหน่อย” จึงจะถือว่าเด็กสามารถพูดคำแรกได้แล้ว ก้าวแรกในการสอนให้เด็กพูด ควรเป็นการเลียนแบบเสียงที่เด็กพูดในระยะการเล่นเสียง และอาจเร้าความสนใจด้วยการตบโต๊ะ เคาะจังหวะ เด็กจะได้หันมามอง การขัดจังหวะก็ควรทำก่อนเด็กจะหยุดกิจกรรม เช่น ขณะเด็กกำลังพูด ป้อป้อ ป้อซ้ำๆ พ่อแม่ก็เข้ามาขัดจังหวะทันทีที่เด็กพูด ป้อคำแรก ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะที่เด็กพึงพอใจมากที่สุด และจะทำให้เด็กสนใจพูดต่อได้นานและดังกว่าเดิม ในระยะแรกก็ทำเพียง 2-3 เสียง แล้วทำให้เรียนรู้ความหมายไปด้วย เช่น เมื่อเด็กพูดคำว่า “แม่” หรือ “พ่อ” แม่หรือพ่อก็ควรเข้ามาปรากฏตัวและเมื่ออุ้มลูกขึ้นก็ควรพูดไปด้วย หัดให้ใช้คำนั้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ผลสุดท้ายเด็กจะโยงความเข้าใจจากเสียงไปยังบุคคลและเข้าใจในความหมายได้เด็กควรได้รับการฝึก จนกระทั่งมีคำตอบที่คงที่มีความหมายอยากพูดซ้ำๆ เมื่อพ่อแม่มาพูดหยอกเล่นด้วย ขณะที่เล่นเสียง พ่อแม่ควรใช้ระยะเงียบมาช่วยฝึกด้วย เช่น ช่วงว่างระหว่าง การทำเสียงอ้อแอ้ เด็กจะหยุดเงียบแม่อาจเร้าความสนใจเด็กใหม่โดยเร้าให้พูด “แม่ๆ” ถ้าเด็กตอบสนองด้วยการเลียนแบบก็ควรให้ฝึกต่อไป ขั้นถัดไปคือ การหัดพูดเป็นคำ ในการฝึกทั้งสองขั้นนี้ พ่อแม่จำต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมแล้วจะพบว่าเด็กใช้คำได้เหมาะเจาะกับเหตุการณ์ หรือท่าทาง อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การหัดพูดครั้งแรกของเด็กได้มาโดยวิธีการของความสม่ำเสมอ ปกติเด็กคุ้นกับเสียง และท่าทางก่อนแล้ว เช่น “สวัสดี” “ไม่” หรือ “แม่” เด็กรู้จักคำมาก่อนนานแล้วเพียงแต่คอยความสม่ำเสมอ หรือ ความคงที่ของความหมายจากผู้ใหญ่ ท่าทางเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้เด็กพูดคำแรกได้สิ่งควรระลึกคือ การที่เด็กจะหัดพูดได้หรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่เด็กต้องทำตามคำสั่ง หรือคำขอร้องซึ่งพ่อแม่มักชอบใช้โดยไม่รู้ตัว เช่น “พูด…………..สิ” “พูด…………..ให้ถูกสิ” โดยเฉพาะคำที่พูดไม่ชัด นักแก้ไขการพูดรู้ดีว่าภาวะที่เหมาะในการหัดนั้นจะช่วยให้เด็กพูดได้ชัดได้ เช่นเดียวกับพ่อแม่สามารถสอนให้ลูกพูดคำแรกได้
3.) ทฤษฎีเสริมกำลัง (Reinforcement Theory)ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลังทฤษฎีของการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าพ ฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลด์ (Rheingold) พบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อให้รางวัลหรือเสริมกำลังเวสเบอร์ก ทอดด์ (Weissberg Todd ) ก็แสดงให้เห็นว่าการให้รางวัลทางสังคมทำให้เด็กอายุ 3 เดือน เปล่งเสียงมากขึ้น แต่พบว่าเฉพาะเสียงที่บ่งบอกความปิติยินดีไม่อาจทำให้เพิ่มการตอบสนองได้ เพราะเขาทดลองใช้เทปบันทึกเสียงแทนคน ปรากฏว่าไม่มีการตอบสนอง ตรงกันข้ามกับนกแก้วนกขุนทองที่สามารถวางเงื่อนไขด้วยจานเสียงหรือเทปก็ได้ เด็กนั้นต้องการตอบสนองจากผู้ใหญ่จริง ๆ วินิทซ์ (Winitz) ได้อธิบายถึงการที่เด็กเกิดการรับรู้ในระยะการเล่นเสียงตอนต้นๆ ว่าเป็นการกระทำตามธรรมชาติของมนุษย์ ในการที่จะมีจุดหมายปลายทาง ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กหิวก็เคลื่อนไหวปาก ซึ่งมีจุดหมายปลายทางที่การดูดและการกินอาหาร ต่อมาเมื่อโตขึ้นก็อาจใช้วิธีทำเสียงอ้อแอ้ โดยหวังว่าแม่จะเข้ามาหาและเล่นเสียงคุยตามไปด้วย ผู้ที่สังเกตเด็กอย่างใกล้ชิดจะพอมองได้ว่า เมื่อใดเด็กร้องเพราะหิว แต่ก็ยากที่จะแยกแยะให้ตายตัวลงไปว่า เด็กหวังจะได้อาหารหรือหวังจะได้อะไรจากผู้ใหญ่ วินิทซ์ ได้อธิบายขั้นที่สองของพัฒนาการทางภาษาในด้านการให้รางวัลทางอ้อมว่า มีบทบาทต่อพฤติกรรมของเด็ก กล่าวคือ เมื่อแม่ทำเสียงนำให้ลูกพร้อมกับการเอาอาหารมาให้ โดยเกือบจะพร้อมกันนั่นเอง เด็กจะหันศีรษะไปรับอาหาร และในขณะที่แม่เปล่งเสียงนั้นเด็กอาจทำกิริยาอย่างอื่นด้วย เช่น หันมามอง ยิ้ม จนบางครั้งแม้เมื่อไม่มีอาหารหากได้ยินเสียงแม่ ลูกก็จะมีพฤติกรรมเหมือนเดิม คือ หันศีรษะมาและยิ้มด้วยการที่เสียงพูดของเด็กคล้ายคลึงกับเสียงแม่มากนั้น เขาอธิบายว่าเป็นเพราะการได้รับการเสริมกำลังจากเสียงของแม่ แล้วเปลี่ยนมาเป็นเสียงของเด็กเอง การเปล่งเสียงของแม่นั้นมักเกิดขึ้นก่อนและต่อเนื่องกับการเลี้ยงดูทารก ฉะนั้นเด็กจึงเลียนวิธีการออกเสียงด้วยวิธีนี้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเสียงแม่ปรากฏควบคู่กับการให้อาหาร ซึ่งจัดเป็นการเสริมกำลังโดยตรงอยู่แล้ว ก็เท่ากับช่วยให้เด็กพูดมากขึ้น ดังนั้นเด็กที่มีเสียงพูดเหมือนพ่อแม่มากก็คือ เด็กที่ได้รับการเสริมกำลังมากกว่าเด็กคนอื่นนั่นเอง ยิ่งพ่อแม่ตอบสนองอย่างเต็มอกเต็มใจ และร่าเริง เมื่อเด็กพูด “แม่-แม่” มากกว่าเมื่อพูดคำที่ไร้ความหมาย แล้วพยางค์นั้นก็จะยิ่งปรากฏบ่อยในการพูดของเด็ก เมื่ออายุราวๆ 1 ปี การเปล่งเสียงพยางค์ก็คล้ายคลึงกับพยางค์ที่มีความหมาย เช่น มม มม และสังเกตเห็นว่าแม่กระวีกระวาดเอาน้ำหรือนมที่เด็กต้องการมาให้ ก็จะทำให้พยางค์นั้นปรากฏบ่อยยิ่งขึ้น วิธีการแบบนี้เองที่เป็นการหัดพูด ซึ่งจะทำให้เด็กพัฒนาการทางภาษาได้คล้ายคลึงกับการพูดของผู้ใหญ่
4. ) ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ในบางครั้ง เด็กจะพูดคำที่ไม่เคยพูดหรือไม่เคยถูกสอนให้พูดมาก่อนเลย แม้แต่ในระยะเล่นเสียงก็มิได้เปล่งเสียงที่คล้ายคลึงกับคำนั้น จึงสงสัยว่าเด็กเรียนรู้ได้อย่างไร ทฤษฎีนี้ให้คำตอบในแง่นี้ คือลีเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วยทำนองเดียวกับเด็กหูตึง การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง พูดซ้ำด้วยตนเองหรือหัดเปล่งเสียงโดยอาศัยการอ่านริมฝีปากแล้วจึงเรียนรู้คำ

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การสอนภาษแบบองค์รวม

เป็นปรัชญาแนวคิดความเชื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เป้นการสอนที่เน้นพีฒนาการทุกๆด้าน ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน สิ่งสำคัญในการ

การจัดประสบการสำหรับเด็กปฐมวัย

ควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กคำนึงถึงตัวเด็กเป็นหลักจัดประสบการณ์ให้เด็กเพือ่ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านเช่นทักษะทางภาษา
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ผู้ติดตาม

Bigbang Pictures, Images and Photos
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...